วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


\



   1.)กฎหมาย    

ตอบ  คือข้อบังคับ   กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ  ควบคุม
ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้

2.) ลักษณะสำคัญของกฎหมาย 


ตอบ


      1.  กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์
                  รัฐาธิปัตย์ หมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ    เช่น  ผู้นำสูงสุด  หรือหัวหน้าคณะปฎิวัติในระบอบการปกครองแบบเผด็จการ   พระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช        ส่วนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ตรากฎหมายโดยความยินยอมจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือรัฐสภา

     2.  กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้ทั่วไป
                 กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว จะต้องใช้ได้ทุกสถานที่ภายในรัฐ และใช้บังคับบุคคลทั่วไปโดยเสมอภาค  หากมีการยกเว้นแก่บุคคลใดกฎหมายจะระบุไว้

      3. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้เสมอไป
                      กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว  ต้องมีผลการบังคับใช้ได้ตลอดไป ยาวนานกี่ปีก็มีผลบังคับใช้ จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิก

      4. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ที่ทุกคนต้องปฎิบัติตาม
                      เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว  บุคคลหรือประชาชนจะพึงพอใจหรือไม่ก็ตาม ต้องปฏิบัติตาม
       5.  กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ 
                      เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมาย หากบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามจะได้รับโทษตามที่กฎหมายนั้น ๆ กำหนดไว้  เช่นการเสียสิทธิ   การชดใช้สินไหมทดแทน หรือการถูกลงโทษทางอาญา เช่น ริบทรัพย์  ปรับ  กักขัง  จำคุก  และสูงสุดคือประหารชีวิต



3.)ความสำคัญของกฎหมาย . 

ตอบ



       1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ  เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
       2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

       3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

       4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
       ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ

ประเภทของกฎหมายและการแบ่งประเภทของกฎหมาย
การแบ่งกฎหมายตามลักษณะของการใช้ มี 2 ประเภท คือ
1.กฎหมายสารบัญญัติ(Substantive Law) หมายถึง ส่วนที่เป็นแก่นแท้ของกฎหมายที่ได้กล่าวถึงลักษณะของการกระทำความผิดและสภาพบังคับไว้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา เป็นต้น
2.กฎหมายวิธีสบัญญัติ(Adjective or Procedural Law) คือ ส่วนที่กล่าวถึงขั้นตอนต่างๆ กระบวนการและวิธีการที่จะบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายสารบัญญัติ


4. ) 
การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?

ตอบ
การแบ่งกฎหมายตามลักษณะความสัมพันธ์ของคู่กรณี ว่าแต่ละฝ่ายมีสภาพอย่างไร เช่น รัฐบาลกับเอกชน เป็นต้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ

1.กฎหมายเอกชนได้แก่ กฎหมายที่คู่กรณีเป็นเอกชนกับเอกชนหรือประชนกับประชนชน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น

2.กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่คู่กรณีนั้นเป็นรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือประชาชน กฎหมายมหาชนที่สำคัญได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง กฎหมายอาญากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นต้น

3.กฎหมายระหว่างประเทศ  ได้แก่ กฎหมายที่คู่กรณีเป็นรัฐกับรัฐด้วยกัน ซึ่งมีบ่เกิดจากข้อตกลงระหว่างประเทศ สัญญาะหว่างประเทศ ซึ่งจำแนกแบ่งอออกเป็น 3 สาขาด้วยกัน คือ
3.1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง  อันได้แก่ ข้อตกลงระหว่างรัฐกับรัฐ ทั้งยามสงบและศึกสงคราม
3.2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล อันได้แก่ ข้อบังคับหรือถึงสิทธิหน้าที่ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของรัฐ เช่น การได้สัญชาติ การจัดทะเบียนสมรส เป็นต้น
3.3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา หมายถึง ข้อบังคับ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับความผิดทางอาญาของสมาชิกรัฐหนึ่งกับสมาชิกรัฐหนึ่ง เช่น ข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น


5.แบ่งประเภทกฎหมายลายลักษณ์อักษร


ตอบ
1.กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติจัดทำขึ้น ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติต่างๆ 
2.กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ฝ่ายบริหารจัดทำขึ้น เช่น พระราชบัญญัติ พระกฤษฎีกา และกฎกระทรวง
3.กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้น ได้แก่ ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและข้อบัญญัติเมืองพัทยา 

การแบ่งระบบกฎหมายนำมาให้ศึกษากันเพียงเท่านี้นะครับหากใครสนใจก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้




6.ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทยตอบ

ตอบ
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
  1. รัฐธรรมนูญ
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  3. พระราชบัญญัติ
  4. พระราชกำหนด
  5. พระราชกฤษฎีกา
  6. กฎกระทรวง
  7. ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา


7.• ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)

ตอบ 

เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น (กฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์ที่ น่าสนใจ คือ อังกฤษเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร (Unwritten Constitution) ซึ่งหมายถึง หลักการปกครองต่างๆ ไม่ได้อยู่รวมกันเป็นรัฐธรรมนูญเฉพาะ แต่กระจายอยู่ตามกฎหมายต่างๆ และคำพิพากษาต่างๆ รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติที่ สืบทอดกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณี ดังนั้น จึงมีความยืดหยุ่น สามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่กล่าวมานี้ทำให้รัฐธรรมนูญอังกฤษมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง อันเป็นผลมาจากวิวัฒนาการยาวนานของระบอบประชาธิปไตยในประเทศอังกฤษที่สะท้อน ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจของกลุ่ม และชนชั้นต่างกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษจึงเป็นการค่อยๆ ลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ลงที่ละเล็กละน้อย ดังจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกเป็นการดุลอำนาจระหว่างพระมหา กษัตริย์กับกลุ่มขุนนาง ต่อมาในศตวรรษที่ 19 มีรัฐธรรมนูญที่เป็นตัวแทนของชนชั้นกลางมากขึ้น เรื่อยมาจนเป็นรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 20
  ดังนั้น การที่จะเข้าใจรัฐธรรมนูญอังกฤษที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากประเทศอื่นๆ นั่นก็คือ การที่มีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นถึงประวัติ และที่มาของรัฐธรรมนูญรวมถึงหลักการสำคัญที่ถูกกำหนดเป็นพื้นฐานของรัฐ ธรรมนูญเพื่อที่จะเห็นภาพรวมของรัฐธรรมนูญอังกฤษ)

8.• ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)  


ตอบ


เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น (รัฐธรรมนูญแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1789) คือ เครื่องมือสำคัญของการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นฉบับแรกของโลกที่ใช้คำเรียกตัวเองว่าเป็น รัฐธรรมนูญ (Constitution) และเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร (Written Constitution) ที่ยังใช้บังคับอยู่ยาวนาน และเก่าแก่ที่สุดในโลก กล่าวคือ มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียง 27 ครั้ง เท่านั้น ในช่วงเวลา 200 กว่าปีมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นแม่แบบของรัฐธรรมนูญอื่นๆ มากมายทั่วโลก นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ถือเป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศ (the SupremeLaw of the Land) ตามมาตรา 6 อนุมาตรา 2 อาจตีความว่า รัฐธรรมนูญของรัฐหรือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐ หรือ สภาคองเกรสแห่งชาติ หากพบว่าขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญของรัฐบาลกลางแล้วจะทำให้กฎหมายเหล่านั้นไม่มี ผลบังคับใช้ คำวินิจฉัยอรรถคดีต่างๆ ของศาลสูงสุด คือเครื่องยืนยันได้ถึงหลักการแห่งความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญฉบับ นี้

9.ระบบกฏหมายในปัจจุบัน.

ตอบ


1.รัฐธรรมนูญ หมายถึงกฎหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วยทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเทศ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป และเพื่อที่จะได้สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
3. พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ พระราชบัญญัติมีอยู่ชนิดเดียว แต่บัดนี้รัฐธรรมนูญฯ ได้บัญญัติให้มีพระราชบัญญัติขึ้นอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ซึ่งรัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในกรณีบางเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541 การตราพระราชบัญญัตินั้นจะทำได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และเมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้

 พระราชกำหนด หรือรัฐกำหนด
ใช้ได้ทั้งพระราชกำหนดและรัฐกำหนด; หรือ royal ordinance สำหรับพระราชกำหนด) เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติพระราชกำหนดไว้เรียกกฎหมายเช่นนั้นซึ่งประกาศใช้ในประเทศอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ส่วนรัฐกำหนดสำหรับประเทศอันมีประธานาธิบดีเป็นประมุข
พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
กฎกระทรวง (อังกฤษ: ministerial regulation) เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรประเภทหนึ่งของประเทศไทยซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ หรือแห่งกฎหมายที่มีฐานะเสมอกัน เป็นต้นว่า ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด กฎกระทรวงนั้นเดิมเรียกว่า กฎเสนาบดี
การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ การปกครองท้องถิ่น เป็นการปกครองโดยใช้หลัก การกระจายอำนาจคือรัฐมอบอำนาจให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นรับไปบริหาร โดยให้ประชาชนปกครองกันเอง มี 4 รูปแบบ คือ
  1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีโครงสร้างบริหารคือสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้กำกับดูแล
  2. เทศบาล มีโครงสร้างบริหารคือสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้กำกับดูแล
  3. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีโครงสร้างบริหารคือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมี นายอำเภอเป็นผู้กำกับดูแล
  4. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่มีฐานะเป็นทบวงการเมืองและนิติบุคคล มี 2 แห่งคือกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
    1. กรุงเทพมหานคร มีโครงสร้างบริหารคือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสภากรุงเทพมหานครและสภาเขต
    2. เมืองพัทยา มีโครงสร้างบริหารคือ สภาเมืองพัทยา นายกเมืองพัทยา
ปัจจุบัน รูปแบบการปกครองท้องถิ่นของไทยทุกรูปแบบ ใช้การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงทั้งสิ้น

10. องค์ประกอบของรัฐมีอะไรบ้าง ?

ตอบ


1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากรของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น

2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ

3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก

4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ